จาก LOOPHOLE โดย Arthur C. Clarke
แปลโดย ประการ จารุวัฒน์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 นิยายวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้เป็นที่นิยมในอังกฤษ และจิตวิญญาณของมันยังคงอยู่ที่สหรัฐอเมริกา อาเธอร์ ซี คล้าก ได้ขายเรื่องสั้นแรกๆ ให้กับ จอห์น ดับบลิว แคมแปลล์ แห่งนิตยสารแอสเตาดิ้ง ((ต่อมาก็คือ นิตยสารอนาล็อก) ในช่วงเดือนแห่งสงครามที่กำลังสิ้นสุดขณะที่คล้ากยังคงรับราชการทหารในแอร์ฟอร์ซ เรื่องแรกที่เขาซื้อไปก็คือ ‘Rescue Party’ กระนั้น ‘Loophole’ ก็ได้ขายไปในเวลาหลังจากนั้นไม่นานนัก แต่ได้รับการตีพิมพ์ก่อน ในช่วงที่ขายไปนั้น (ปีค.ศ. 1945) คล้ากยังประจำการอยู่ข้างนอก สแตรทฟอร์ด-ออน-เอวอน และยังคงจำถึงปรากฏการในวาระนั้นได้ดี
‘Loophole’ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารแอสเตาดิ้ง ซายน์-ฟิคชั่น ฉบับเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489 ) ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย ประการ จารุวัฒน์ ในชื่อเรื่อง “ไม่ได้ด้วยเล่ห์…” ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้น “ออบิท 4 ซากสงคราม” ของกลุ่มออบิท ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 และอีกหนึ่งสำนวนในชื่อ “ช่องโหว่” โดยนพดล เวชสวัสดิ์ ตีพิมพ์ในนิตยสารชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ฉบับที่ 208 เดือนตุลาคม พ.ศ.2530 และตีพิมพ์ซ้ำหนังสือชุด 100 เรื่องสั้นนิยายวิทยาศาสตร์ “รัตติกาล” โดยบริษัทเซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี ในปี พ.ศ. 2542
อ่านเพิ่มเติม ไม่ได้ด้วยเล่ห์… →
เขาเป็นสามีที่ดี เป็นพ่อที่ดี ฉันไม่เข้าใจเลย ฉันไม่อยากเชื่อเลย ฉันไม่อยากเชื่อว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ ฉันเห็นมันเกิดขึ้น แต่มันไม่ใช่ความจริง เป็นไปไม่ได้ เขาอ่อนโยนเสมอ ลองให้คุณมาเห็นเขาเล่นกับเด็กสิ ใครที่เห็นเขาเล่นกับเด็กต้องรู้ว่าเขาไม่ได้ร้ายอะไรเลย เลวสักนิดยังไม่มี ตอนฉันพบเขาคราวแรก เขายังอาศัยอยู่กับแม่ของตัวเองที่สปริงเลค ฉันเคยเห็นเขามาด้วยกัน…พวกลูกชายกับแม่ และยังคิดด้วยซ้ำว่าหนุ่มคนไหนที่ดีกับครอบครัวตัวเองคงน่าคบเอาการ แล้วครั้งหนึ่งตอนฉันเดินเตร่อยู่ในป่า ฉันพบเขาเดินกลับมาตัวคนเดียวหลังล่าสัตว์เสร็จ เขาไม่ได้เหยื่อสักตัว แม้แต่หนูนาก็ยังจับไม่ได้ แต่ทว่าเขาก็ไม่ได้เศร้ากระไร เขามัวแต่เดินเล่นพลางสูดอากาศยามเช้า นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันชอบเขาในตอนแรก เขาไม่ถืออะไรจริงจังเกินไป เขาไม่บ่นคร่ำครวญในยามที่อะไรๆไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ เราเลยได้คุยกันวันนั้น และฉันคิดว่าระหว่างเราคงไปได้สวยทีเดียว เพราะไม่นานเขาก็มาจับเจ่าอยู่ที่นี่แทบจะตลอดเวลา พี่สาวฉันก็เลยบอกว่า —อ้อ…พ่อแม่ฉันย้ายไปใต้เมื่อปีก่อน และทิ้งบ้านหลังนี้ไว้ให้เราสองคน— พี่สาวฉันบอกด้วยสำเนียงล้อเลียนปนจริงจังว่า “เฮ้อ! ถ้าเขาจะมาอยู่ที่นี่ทุกวัน กับอีกครึ่งคืนแล้วละก็ คงจะไม่เหลือที่ว่างพอให้ฉันหรอก!” แล้วเธอก็ย้ายออก—ไปอยู่ไม่ไกลเท่าไร พี่กับฉันสนิทกันมานานแล้ว เรื่องแบบนี้ไม่มีวันเปลี่ยนหรอก ฉันคงผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายตอนนี้ไม่ได้แน่ถ้าไม่มีเธอ
จากนั้นเขาก็มาอยู่ที่นี่ และเท่าที่ฉันพูดได้คือมันเป็นปีที่ฉันสุขที่สุดในชีวิต เขาดีกับฉันเสมอต้นเสมอปลาย ทำงานหนักและไม่เคยขี้เกียจ และรูปร่างใหญ่ดูดี ทุกคนต้องแหงนหน้ามองเชียวนะขนาดเขาอายุแค่นี้ การชุมนุมที่สโมสรให้เขาเป็นนักร้องนำบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ เขามีเสียงที่ไพเราะเหลือเกิน และเขานำเสียงกลุ่มได้ทรงพลัง คนอื่น ๆ จะร้องตามร่วมด้วย ทั้งเสียงสูงต่ำ ตอนนี้เมื่อฉันมาคิดแล้วก็ทำให้ฉันเสียวสันหลังทีเดียว –เสียงร้องดังผ่านหมู่แมกไม้มาถึงนี่ และแสงจันทราเต็มดวงยามค่ำคืนฤดูร้อนส่องสว่างไปทั่ว ฉันจะไม่มีวันได้ยินอะไรไพเราะเท่านั้นอีก ฉันจะไม่มีวันได้รู้ถึงสุขเช่นนั้นอีกเลย อ่านเพิ่มเติม The Wife’s Story เรื่องเล่าจากภรรยา →

Flowers for Algernon เรื่องสั้นขนาดยาว ประพันธ์โดย ดาเนียล คีย์ (Daniel Keys) เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของชายปัญญาอ่อนผู้มีไอคิวเพียง 68 ได้เข้าร่วมเป็นมนุษย์ทดลองรับการผ่าตัดเพื่อพัฒนาสมองให้ฉลาดขึ้นเป็นสามเท่า เขาได้เขียนบันทึกชีวิตจากที่เป็นคนปัญญาอ่อนจนกลายเป็นอัจฉริยะ
ชาร์ลี เกิดมาด้วยไอคิวต่ำเป็นพิเศษ และถูกเลือกเป็นมนุษย์ทดลองสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งบรรดานักวิจัยต่างหวังว่าจะช่วยเพิ่มระดับสติปัญญาให้กับเขา ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างสูงกับหนูทดลองที่ชื่อ อัลเกอร์นอน เมื่องานนี้เริ่มส่งผล ชาร์ลีมีสติปัญญาที่พัฒนาขึ้น จนล้ำหน้าหมอ แล้วจู่ อัลเกอร์นอนก็เสื่อมสภาพ แล้วชาร์ลีล่ะ สิ่งเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับเขาหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม ดอกไม้สำหรับอัลเจอนอน →
"หนังสือคือแสงแห่งปัญญา" "สร้างสรรค์จินตนาการสุดล้ำด้วยไซไฟแฟนตาซี"