จาก Search Light โดย Robert A. Heinlein
แปลโดย พิสนธ์ จงตระกูล
เมื่อเด็กหญิงอัจฉริยะนักเปียโนตัวน้อยได้รับภารกิจจากโลกมนุษย์ไปยังดวงจันทร์เพื่อปลอบขวัญเหล่าผู้บุกเบิกอวกาศบนฐานดวงจันทร์ ต้องประสบเหตุฉุกเฉินหายสาบสูญไป…
ทั้งโลกทั้งดวงจันทร์ต่างถูกกดดันทั้งทางการเมืองและสังคมให้พลิกพื้นดวงจันทร์เพื่อค้นหาเธอและนักบินอวกาศให้พบภายในหกชั่วโมง พวกเขาจะทำได้แค่ไหน และอย่างไรกัน…

“เธอจะได้ยินไหมหนอ?”
“ถ้าเธออยู่บนผิวดวงจันทร์… ถ้าเธอสามารถออกจากยานได้… ถ้าวิทยุของเธอยังใช้การได้ และเปิดมันทิ้งไว้…ถ้าเธอยังมีชีวิตอยู่…”
แต่ไม่มีสัญญาณใดๆ หรือภาพของยานบนจอเรดาร์เลย
“ที่นี่ ฐานไทโค คำสั่งด่วนให้สถานีอวกาศเตรียมพร้อม เราจะต้องหาเธอให้พบ เปลี่ยน”
คำตอบ เว้นระยะไปนานถึง 3 วินาที… จากวอชิงตันไปดวงจันทร์ และย้อนกลับมา
“ที่นี่ ฐานลูนาร์ ผู้บังคับการกำลังพูด เปลี่ยน”
“ผู้บังคับการ! ผมขอให้คุณส่งคนของคุณทุกคนบนดวงจันทร์ออกตามหา เบธ”
อ่านเพิ่มเติม อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป →
จาก LOOPHOLE โดย Arthur C. Clarke
แปลโดย ประการ จารุวัฒน์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 นิยายวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้เป็นที่นิยมในอังกฤษ และจิตวิญญาณของมันยังคงอยู่ที่สหรัฐอเมริกา อาเธอร์ ซี คล้าก ได้ขายเรื่องสั้นแรกๆ ให้กับ จอห์น ดับบลิว แคมแปลล์ แห่งนิตยสารแอสเตาดิ้ง ((ต่อมาก็คือ นิตยสารอนาล็อก) ในช่วงเดือนแห่งสงครามที่กำลังสิ้นสุดขณะที่คล้ากยังคงรับราชการทหารในแอร์ฟอร์ซ เรื่องแรกที่เขาซื้อไปก็คือ ‘Rescue Party’ กระนั้น ‘Loophole’ ก็ได้ขายไปในเวลาหลังจากนั้นไม่นานนัก แต่ได้รับการตีพิมพ์ก่อน ในช่วงที่ขายไปนั้น (ปีค.ศ. 1945) คล้ากยังประจำการอยู่ข้างนอก สแตรทฟอร์ด-ออน-เอวอน และยังคงจำถึงปรากฏการในวาระนั้นได้ดี
‘Loophole’ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารแอสเตาดิ้ง ซายน์-ฟิคชั่น ฉบับเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489 ) ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย ประการ จารุวัฒน์ ในชื่อเรื่อง “ไม่ได้ด้วยเล่ห์…” ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้น “ออบิท 4 ซากสงคราม” ของกลุ่มออบิท ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 และอีกหนึ่งสำนวนในชื่อ “ช่องโหว่” โดยนพดล เวชสวัสดิ์ ตีพิมพ์ในนิตยสารชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ฉบับที่ 208 เดือนตุลาคม พ.ศ.2530 และตีพิมพ์ซ้ำหนังสือชุด 100 เรื่องสั้นนิยายวิทยาศาสตร์ “รัตติกาล” โดยบริษัทเซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี ในปี พ.ศ. 2542
อ่านเพิ่มเติม ไม่ได้ด้วยเล่ห์… →
เขาเป็นสามีที่ดี เป็นพ่อที่ดี ฉันไม่เข้าใจเลย ฉันไม่อยากเชื่อเลย ฉันไม่อยากเชื่อว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ ฉันเห็นมันเกิดขึ้น แต่มันไม่ใช่ความจริง เป็นไปไม่ได้ เขาอ่อนโยนเสมอ ลองให้คุณมาเห็นเขาเล่นกับเด็กสิ ใครที่เห็นเขาเล่นกับเด็กต้องรู้ว่าเขาไม่ได้ร้ายอะไรเลย เลวสักนิดยังไม่มี ตอนฉันพบเขาคราวแรก เขายังอาศัยอยู่กับแม่ของตัวเองที่สปริงเลค ฉันเคยเห็นเขามาด้วยกัน…พวกลูกชายกับแม่ และยังคิดด้วยซ้ำว่าหนุ่มคนไหนที่ดีกับครอบครัวตัวเองคงน่าคบเอาการ แล้วครั้งหนึ่งตอนฉันเดินเตร่อยู่ในป่า ฉันพบเขาเดินกลับมาตัวคนเดียวหลังล่าสัตว์เสร็จ เขาไม่ได้เหยื่อสักตัว แม้แต่หนูนาก็ยังจับไม่ได้ แต่ทว่าเขาก็ไม่ได้เศร้ากระไร เขามัวแต่เดินเล่นพลางสูดอากาศยามเช้า นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันชอบเขาในตอนแรก เขาไม่ถืออะไรจริงจังเกินไป เขาไม่บ่นคร่ำครวญในยามที่อะไรๆไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ เราเลยได้คุยกันวันนั้น และฉันคิดว่าระหว่างเราคงไปได้สวยทีเดียว เพราะไม่นานเขาก็มาจับเจ่าอยู่ที่นี่แทบจะตลอดเวลา พี่สาวฉันก็เลยบอกว่า —อ้อ…พ่อแม่ฉันย้ายไปใต้เมื่อปีก่อน และทิ้งบ้านหลังนี้ไว้ให้เราสองคน— พี่สาวฉันบอกด้วยสำเนียงล้อเลียนปนจริงจังว่า “เฮ้อ! ถ้าเขาจะมาอยู่ที่นี่ทุกวัน กับอีกครึ่งคืนแล้วละก็ คงจะไม่เหลือที่ว่างพอให้ฉันหรอก!” แล้วเธอก็ย้ายออก—ไปอยู่ไม่ไกลเท่าไร พี่กับฉันสนิทกันมานานแล้ว เรื่องแบบนี้ไม่มีวันเปลี่ยนหรอก ฉันคงผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายตอนนี้ไม่ได้แน่ถ้าไม่มีเธอ
จากนั้นเขาก็มาอยู่ที่นี่ และเท่าที่ฉันพูดได้คือมันเป็นปีที่ฉันสุขที่สุดในชีวิต เขาดีกับฉันเสมอต้นเสมอปลาย ทำงานหนักและไม่เคยขี้เกียจ และรูปร่างใหญ่ดูดี ทุกคนต้องแหงนหน้ามองเชียวนะขนาดเขาอายุแค่นี้ การชุมนุมที่สโมสรให้เขาเป็นนักร้องนำบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ เขามีเสียงที่ไพเราะเหลือเกิน และเขานำเสียงกลุ่มได้ทรงพลัง คนอื่น ๆ จะร้องตามร่วมด้วย ทั้งเสียงสูงต่ำ ตอนนี้เมื่อฉันมาคิดแล้วก็ทำให้ฉันเสียวสันหลังทีเดียว –เสียงร้องดังผ่านหมู่แมกไม้มาถึงนี่ และแสงจันทราเต็มดวงยามค่ำคืนฤดูร้อนส่องสว่างไปทั่ว ฉันจะไม่มีวันได้ยินอะไรไพเราะเท่านั้นอีก ฉันจะไม่มีวันได้รู้ถึงสุขเช่นนั้นอีกเลย อ่านเพิ่มเติม The Wife’s Story เรื่องเล่าจากภรรยา →

Flowers for Algernon เรื่องสั้นขนาดยาว ประพันธ์โดย ดาเนียล คีย์ (Daniel Keys) เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของชายปัญญาอ่อนผู้มีไอคิวเพียง 68 ได้เข้าร่วมเป็นมนุษย์ทดลองรับการผ่าตัดเพื่อพัฒนาสมองให้ฉลาดขึ้นเป็นสามเท่า เขาได้เขียนบันทึกชีวิตจากที่เป็นคนปัญญาอ่อนจนกลายเป็นอัจฉริยะ
ชาร์ลี เกิดมาด้วยไอคิวต่ำเป็นพิเศษ และถูกเลือกเป็นมนุษย์ทดลองสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งบรรดานักวิจัยต่างหวังว่าจะช่วยเพิ่มระดับสติปัญญาให้กับเขา ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างสูงกับหนูทดลองที่ชื่อ อัลเกอร์นอน เมื่องานนี้เริ่มส่งผล ชาร์ลีมีสติปัญญาที่พัฒนาขึ้น จนล้ำหน้าหมอ แล้วจู่ อัลเกอร์นอนก็เสื่อมสภาพ แล้วชาร์ลีล่ะ สิ่งเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับเขาหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม ดอกไม้สำหรับอัลเจอนอน →
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (อังกฤษ: Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 – 19 มีนาคม ค.ศ. 2008[1]) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama)
ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ
คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น “ความภูมิใจของลังกา” มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ช่วงบั้นปลายชีวิต คลาร์กป่วยด้วยโรคโปลิโอต้องนั่งบนรถเข็นตลอดเวลา เขาเสียชีวิตเมื่อเช้ามืดของวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยวัย 90 ปี ศพของเขาทำพิธีฝังอย่างเรียบง่าย ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
อ่านเพิ่มเติม 100 ปี อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก →
หนึ่งร้อยปี จันตรี ศิริบุญรอด นักเขียนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย
นามจันตรี ศิริบุญรอด อาจไม่ใช่ผู้ริเริ่มเขียน “นิยายวิทยาศาสตร์” คนแรกสุดของวงการวรรณกรรมไทยประเภทนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นมาในยุคบุกเบิกของนิยายวิทยาศาสตร์ที่เป็นแบบไทยๆ เราท่านทั้งหลายยังจำกันได้ว่า จันตรี ศิริบุญรอด คือผู้อุทิศตัวทำงานหนักเพื่อวงการหนังสือประเภทนี้ และได้เป็นผู้ลงมือเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ของไทย ทั้งในเชิงเรื่องสั้นและนวนิยายอย่างจริงจัง และดูเหมือนจะเป็นเพียงคนเดียวที่เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยไว้มากที่สุด
จากปกหลังรวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ “มนุษย์คู่”
–สุชาติ สวัสดิศรี–
อ่านเพิ่มเติม 100 ปี จันตรี ศิริบุญรอด →
‘The Awakening’ เรื่องสั้นของ อาเธอร์ ซี คล้าก ที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดยแฟนคลับชาวแมนเชสเตอร์ที่มีชื่อว่า แฮรรี่ เทอร์เนอร์ และ มาเรียน อีดี้ ในแฟนซีนชื่อ นิตยสารเซนิต ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1942 (พ.ศ.2485 ) และต่อมาได้มีการเขียนปรับปรุงและตีพิมพ์อย่างแพร่หลายในนิตยสารฟิวเจอร์ในฉบับเดือนมกราคม ปีค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์ดวง ในชื่อเรื่อง “ผู้ชนะ.” ตีพิมพ์ในนิตยสารโลกวิทยาศาสตร์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2525
อ่านเพิ่มเติม ผู้ชนะ THE AWAKENING →
===================================================
จินตนาการสุดล้ำของนิยายในวันนี้—เป็นความจริงแท้ที่แน่นอนในวันพรุ่งนี้
===================================================
นิตยสารแนวใหม่
โดย HUGO Gernsback, FRS
ถอดความโดย ณาส ธรัญ
แค่นิตยสารนิยายอีกฉบับหนึ่งกระนั้นหรือ!

ในห้วงความคิดแรก มันดูเหมือนว่าเป็น ไปไม่ได้ที่จะะมีช่องว่างสำหรับนิตยสารเฉพาะนิยายฉบับใหม่ขึ้นมาอีกในประเทศนี้ ผู้อ่านอาจประหลาดใจว่า “มันยังไม่มีมากพออยู่แล้วเหรอ กับหลายร้อยฉบับที่ได้มีการตีพิมพ์จำหน่ายในตอนนี้” นั่นเป็นความจริงแน่แท้ แต่นี่ก็ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ “นิตยสารนิยายอีกฉบับหนึ่ง”เท่านั้น อเมซซิ่ง สตอรี่ส์ ยังเป็นนิตยสารนิยายประเภทใหม่! มันเป็นสิ่งที่ใหม่ทั้งหมด–แตกต่างทั้งหมด–แลเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในประเทศนี้ ด้วยเหตุนี้ อเมซซิ่ง สตอรีส์ สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับความใส่ใจและความสนใจจากคุณ
นิตยสารนิยายปกติ มักจะเป็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ และนิตยสารประเภทปลุกใจเสือป่า ประเภทผจญภัยและอื่นๆ อีกมายมา แต่นิตยสาร “นิยายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์[1]” เป็นผู้บุกเบิกเรื่องในประเภทนี้ของอเมริกา
อ่านเพิ่มเติม Amazing Stories นิตยสารแนวใหม่ →

“มันบอกว่ามนุษย์ ‘สูญเผ่าพันธุ์’ แล้ว”
“มันหมายถึงว่ามนุษย์ได้หายไปหมดแล้ว” ผู้ดูแลไร่พูดอธิบาย “เพราะฉะนั้นมีเพียงพวกเราเท่านั้นที่จะต้องดูแลกันเอง”
“เยี่ยมไปเลย ถ้ามนุษย์จะไม่กลับมาอีก” ผู้บันทึกรายงานพูดโดยความหมายของมันแล้ว มันรู้สึกว่าเป็นประโยคแห่งการปฏิวัติเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม ใครจะมาแทนมนุษย์? →
โลกมนุษย์เราในขณะนี้มีมนุษย์อยู่สองจําพวกพวกหนึ่งคือ มนุษย์ที่มีเลือดมีเนื้อ อีกพวกคือพวกที่แทบจะมีอวัยวะเทียมทั้งร่าง เกือบจะเป็นหุ่นยนต์ทําไมเราจะต้องทําให้เกิดความรู้สึกแตกต่างระหว่างคนทั้งสองพวกนี้ด้วยล่ะ?

อ่านเพิ่มเติม อวัยวะเทียม – Segregationist →
"หนังสือคือแสงแห่งปัญญา" "สร้างสรรค์จินตนาการสุดล้ำด้วยไซไฟแฟนตาซี"