คลังเก็บหมวดหมู่: Sci-Fi

สิงสู่

และบัดนี้ดวงอาทิตย์เหนือหัวอยู่ใกล้เสียจนพายุรังสีผลักดันให้ฝูงญาณกลับคืนสู่อวกาศอันมืดมิด ในไม่ช้ามันจะไม่อาจเข้าใกล้ได้กว่านี้; พายุแสงที่มันโดยสารมาจากดวงดาวไปสู่ดวงดาวไม่อาจประจันหน้าใกล้แหล่งกำเนิดของมัน เว้นแต่มันจะพบกับดาวเคราะห์ในเร็วๆ นี้ จึงจะสามารถคืนสู่ความสงบปลอดภัยใต้เงื้อมเงา
มันจำเป็นต้องละทิ้งดาวฤกษ์ดวงนี้เช่นดาวดวงอื่นที่ผ่านมามากมาย

พวกมันค้นหาพิภพรอบนอกหกดวงและละทิ้ง ไม่ว่าจะด้วยมันหนาวเย็นเกินหวังว่าจะมีสิ่งมีชีวิต ก็เต็มไปด้วยสิ่งที่ดำรงอยู่ชนิดที่ไร้ค่ากับฝูงญาณ ถ้ามันต้องการรอด มันต้องหาเจ้าบ้านที่ไม่เหมือนพวกที่มันได้ทิ้งไว้บนบ้านเกิดอันห่างไกลและถึงกาลอวสาน หลายล้านปีก่อน ฝูงญาณเริ่มต้นการเดินทาง กวาดไปทั่วดวงดาราด้วยเชื้อเพลิงจากดาวฤกษ์ที่แตกดับของมัน แม้แต่ในบัดนี้ความทรงจำจากการสูญเสียพิภพกำเนิดยังคงชัดเจน เป็นความปวดร้าวที่ไม่อาจลืมเลือน

ยังมีดาวเคราะห์อยู่ข้างหน้า กวัดแกว่งกรวยเงาผ่านม่านเพลิงในความมืดมิด ความรู้สึกที่ฝูงญาณพัฒนาขึ้นในช่วงการเดินทางอันยาวนานเพื่อค้นหาพิภพที่มันเข้าใกล้ มันรับรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้
ใช้การได้

รังสีกระหน่ำไร้ความปรานีหยุดลงเมื่อจานดำของดาวเคราะห์ทำคราสกับดวงอาทิตย์ มันตกลงไปอย่างอิสระด้วยแรงโน้มถ่วง
ฝูงญาณร่วงหล่นอย่างเร็วจนมันปะทะกับขอบชั้นบรรยากาศ ครั้งแรกที่มันร่วงลงสู่ดาวเคราะห์ พวกมันเกือบวายวอด แต่บัดนี้มันควบรวมตัวตนอันบอบบางด้วยทักษะที่ฝึกปรือมานานโดยไม่ต้องคิด จนเกิดเป็นทรงกลมเล็กแน่นหนา ความเร็วในการตกช้าลง จนกระทั่งมันลอยไม่ขยับไหวระหว่างฟากฟ้ากับผืนดิน

อ่านเพิ่มเติม สิงสู่

วับนั้นไซร้ (สุกรธรรมดา)

ของทุกอย่างถูกขนขึ้นยานจนเกือบหมดแล้ว

กัปตันฟรังโกเฝ้าดูอย่างพออกพอใจ เขาหันไปยิ้มระรื่นกับชาวอ็อบตุสที่ยืนกอดอกตีหน้าเคร่งอยู่ข้างๆ

“ไง ไม่พอใจอีกเรอะ เที่ยวนี้ผมให้ราคาดีมากแล้วนะ”

อีกฝ่ายเพียงแต่สะบัดเสื้อคลุมแล้วทําท่าจะจากไป แต่กัปตันเหยียบชายผ้าคลุมไว้

“เดี๋ยวสิพรรคพวก ผมยังว่าไม่จบเลย จะรีบร้อนไปไหน”

“งั้นเรอะ” ชาวอ็อบตุสเลิกคิ้วอย่างไว้ตัว “ขอโทษที แต่ผมต้องกลับหมู่บ้าน เตรียมจัดกองล่าสัตว์” เขากล่าวพร้อมกับกวาดสายตาไปทางฝูงสัตว์ที่ถูกคอนขึ้นเรืออวกาศอยู่ไม่ขาดสาย

ฟรังโกจุดบุหรี่ขึ้นมาคาบไว้ตัวหนึ่งแล้วกล่าวเสียงเอื่อยๆ “ทำไมพวกแกไม่ออกไปกวาดทุ่งหญ้าและออกล่าอีกสักรอบ เสบียงเราอาจจะหมดเมื่อเดินทางไปแค่ครึ่งทางระหว่างดาวอังคารและโลก…”

ชาวอ็อบตุสไม่รอฟังจนอีกฝ่ายหนึ่งพูดจบ แต่ผละจากไปโดยไม่กล่าวลาใดๆ ฟรังโกยักไหล่แล้วเดินไปสมทบกับต้นหนเรือที่ปลายทางลาดขึ้นเรือ

“ไง” เขาเอ่ยทัก พลางมองไปที่นาฬิกาข้อมือ “เที่ยวนี้เรากดราคาได้จมหูเลยนะเฟ้ย”

ต้นหนชายตามองผู้บังคับบัญชาของตนอย่างไม่สู้จะพอใจนัก “กัปตันต่างหาก ไม่ใช่เราหรอก”

อ่านเพิ่มเติม วับนั้นไซร้ (สุกรธรรมดา)

The Man Who Saw The Future ชายผู้ไปเยือนโลกอนาคต

ชอง เดอ มาเซแลท์ เจ้าหน้าที่สอบสวนเหตุการณ์ผิดปกติในพระปรมาภิไธยของมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เงยหน้าขึ้นมาจากกองกระดาษหนังแกะที่วางระเกะระกะอยู่บนโต๊ะที่เขานั่งอยู่ สายตาของเขาทอดยาวผ่านกำแพงหินไปยังทหารในชุดเกราะที่ยืนนิ่งราวกับรูปปั้นอยู่ตรงประตู

“นำนักโทษเข้ามาได้” เขาสั่ง

ทั้งสองหายไปยังความมืดมิดหลังบานประตู ทันใดนั้นก็มีเสียงเปิดประตูห้องขังเหล็กดังมาจากที่ใดสักแห่งในตึก ทหารทั้งสองกลับออกมาพร้อมผู้ชายคนหนึ่งที่ถูกล่ามมือด้วยโซ่ตรวน

เขาดูรูปร่างธรรมดา สวมใส่เสื้อทูนิกเยินๆ และถุงเท้ายาว ผมสีเข้ม ยาว และตรง หน้าของเขาช่างเปี่ยมฝัน ดูแล้วแตกต่างกับใบหน้าที่ยับเยินของเหล่าทหาร หรือใบหน้าที่นิ่งเฉยของเจ้าหน้าที่สอบสวนเหลือเกิน เจ้าหน้าที่สอบสวนเท้าความถึงนักโทษแล้วยกกระดาษหนังแกะที่อยู่ตรงหน้าเขาขึ้นมาใบหนึ่ง เขาอ่านด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลแต่ชัดเจนว่า

อองรี โลธิแอร์ ผู้ช่วยนักปรุงยาแห่งกรุงปารีสได้ถูกจับในปี ค.ศ. 1444 ในข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าและพระมหากษัตริย์โดยการร่ายคาถาอาคม”

นักโทษได้เอื้อนเอ่ยเป็นครั้งแรก เสียงของเขาเบาแต่มั่นคง “ข้าไม่ใช่หมอผีขอรับท่าน”

นีล เกแมน พูดถึง มหกาลโกลาหล

undefined
นีล เกแมน ผู้เขียนนิยายภาพชุด เดอะ แซนด์ แมน (1989–96) อีกทั้ง นวนิยายเรื่อง สตาร์ดัสท์[1] (1998), อเมริกัน ก็อดส์ [2](2001), คอรัลไลน์[3] (2002), และ ผจญภัยในสุสาน[4] (2008) กำเนิดในอังกฤษ, ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ มิเนโซตา, สหรัฐอเมริกา
เครดิต: คิมเบอร์ลี บัทเลอร์

มหกาลโกลาหล นั้นเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงสองสามชั่วโมงบนเวทีเล็กๆ ที่รู้จักกันในนาม เดอะเพลซ[5] อันเป็น “โรงละคร ธรรมดาที่รายล้อมรอบด้วยสุญญกาล[6]สำหรับผู้พำนักภายใน” สถานที่แห่งนี้เป็นสถานีพักผ่อนและพักฟื้นสำหรับทหารในสงครามมหกาล มันเป็นเวทีที่มีอยู่เหนือกาลอวกาศ มีสมาชิกเพียงสามคน อลิซาเบธ ซิดนีย์ เลสซิงแฮม ผู้รับผิดชอบสถานที่ ด็อก แพทย์ชาวรัสเซียผู้สิ้นหวังที่มีแอลกอฮอล์คอยเคียงข้าง และ โบ นักพนันผู้มาจากริมแม่น้ำทางตอนใต้ของอเมริกา และหญิงสามสามนางที่เราได้รับการบอกเล่าว่าเป็นพยาบาลมากพอๆ กับพวกโสเภณี ม็อด, ลิลี่ (เด็กหญิงคนใหม่มักถูกเรียกว่าลิลี่ อันมาจากชื่อของ ลิลี่ มาร์ลีน) และเกรตา ฟอร์แซนผู้เล่าเรื่องของเรา งานของพวกเขาก็คือทำให้แน่ใจว่าทหารได้รับการเยียวยาและเปี่ยมความสุข จนพร้อมสำหรับภารกิจครั้งต่อไป

เกรตาถูกฆ่าตายบนถนนนอร์ธ คลาร์กในช่วงที่นาซีบุกสหรัฐอเมริกาช่วงต้นทศวรรษที่ 1940 ในช่วงเวลาที่แมงมุมสร้างขึ้น ฝ่ายที่ดึงชีวิตเกรตากลับมา ในสงครามแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีสองฝ่ายคือ พวกแมงมุมกับพวกงู  ทั้งสองฝ่ายต่างเกณฑ์ไพร่พลจากผู้เสียชีวิตไม่นานนักเข้าสู่กองทัพ ดึงพวกเขาออกจากช่วงเวลาก่อนที่จะเสียชีวิตและให้พวกเขาต่อสู้เพื่อให้แน่ใจว่าได้บรรลุถึงเป้าประสงค์บางสิ่ง บางอย่าง บางเวลา ที่ (คาดว่า) จะรับประกันผลลัพธ์ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือประสบชัยชนะในขั้นสุด

ทหารสามคนผู้มาเยือนในช่วงแรก (อันได้แก่ ทหารกองหน้านาซี, กวีชาวอังกฤษผู้เสียชีวิตที่พาสเช่นเดล, และชาวโรมัน) และอีกสามรายในช่วงหลัง (มนุษย์ต่างดาวสองตนหนึ่งตนจากอดีตอันไกลโพ้น, หนึ่งตนจากอนาคตอันแสนไกล และอีกหนึ่งเป็นทหารหญิงชาวเครตัน): เราได้รับรู้เกี่ยวกับสงครามแห่งการเปลี่ยนแปลง กวีและเด็กหญิงคนใหม่ที่กำลังตกหลุมรักกัน ระเบิดอะตอมที่ถูกจุดฉนวนและจะระเบิดขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงในขณะที่เครื่องยนต์ที่คอยรักษาสภาวะคงอยู่ของ เดอะเพลซ นั้นได้หายไปจากจุดติดตั้งของมันอย่างลึกลับ หนังสือเล่มนี้ได้สร้างปริศนารหัสคดีห้องปิดตายขึ้นมาอย่างชาญฉลาด ในช่วงครึ่งหลังของหนังสือ —องก์ที่สอง—อาจนับว่าเป็นการคลี่ปมของปริศนาห้องปิดตาย (ซึ่งมีเบาะแสที่ทิ้งไว้ในตอนต้น ผู้เขียนได้เล่นกับผู้อ่านอย่างยุติธรรม) แต่ทว่าก็ไม่ได้ไขปัญหาในประเด็นที่ใหญ่กว่านั้น, นั่นคือธรรมชาติของสงครามเปลี่ยนเวลา

เกรตาเป็นผู้เล่าที่ค่อนข้างไม่น่าเชื่อถือ ผีที่มีศีลธรรม (เธออธิบายถึงตัวเองในประโยคที่สองว่า “วัยยี่สิบเก้าและเป็นสาวปาร์ตี้”) เดฟ ชายที่เธอรักถูกฆ่าระหว่างที่ต่อสู้ในสงครามกับฟรังโก ก่อนที่เธอจะตายและถูกเกณฑ์เข้าสงครามมหกาล ตอนนี้เธอตกหลุมรักอีริคทหารนาซีซึ่งถูกสังหารที่นาร์วิค ในปีค.ศ.1940 ทว่าในช่วงเวลาที่แมงมุมสร้างขึ้นกลายเป็นผู้บัญชาการผู้โหดร้ายแห่งโตรอนโต แลดูเหมือนว่าเธอจะภูมิใจในตัวเขา ผู้กองซาดิสม์ของเธอ (ดังที่เธออธิบายต่อมา ‘เขาใช้หมัดดวลกับคนอื่น แต่ฉันทอดกายอยู่ใต้เขา’) หมอกแห่งศีลธรรมของเธอ หมอกที่มีแอลกอฮอล์ และศีลธรรมของตัวละครอื่นๆ อีกหลายตัวเป็นส่วนหนึ่งของหมอกขนาดใหญ่ของเรื่องซึ่งสร้างเสริมพลังให้กับเรื่องราว

ในทุกสงครามทหารกำลังต่อสู้กับสมรภูมิที่พวกเขาไม่เข้าใจเหตุผล ที่พวกเขาไม่เคยได้เห็นผลลัพธ์ ทว่าสงครามครั้งนี้ทหารมองเห็นผลของมันข้ามกาลเวลา ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นจากเหตุผลที่ไม่เคยถูกอธิบาย อดีตและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมรภูมิอาจมีขึ้นและมีขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง ไม่มีใครเชื่อว่าตัวเองกำลังต่อสู้ให้กับฝ่ายที่ถูกต้อง— พวกเขาเพียงเป็นหนี้ต่อฝ่ายที่นำพวกเขากลับมาจากความตายเพื่อต่อสู้ แต่ไม่มีความรู้สึกว่าพวกเขากำลังต่อสู้เพื่อการต่อสู้ที่ยุติธรรม ดังที่เราได้เรียนรู้ว่าพวกเขาไม่มีแนวคิดว่าที่จริงแล้วใครหรืออะไรคือพวกแมงมุมหรือพวกอรพิษ และสิ่งที่พวกมันต้องการในท้ายที่สุด

ทั้งเกรตาและลิลี่ ต่างเปลี่ยนไปในระหว่างที่เรื่องดำเนินไป ลิลี่ได้สิ่งที่เธอต้องการและสูญเสียมันไป   ในขณะที่เกรตาช่วยพวกเขาทั้งหมดไว้ภายใต้สภาวการณ์ที่ไร้ซึ่งความไว้ใจกันแต่เธอก็ได้รับเพียงความไม่ไว้วางใจกลับคืน กระนั้นเธอก็ได้รับสิ่งที่งดงามจากมนุษย์ต่างดาวที่สูญพันธุ์ไปนาน จากความหวังที่ว่าสงครามอาจเป็นอย่างอื่น เป็นแรงผลักดันในการวิวัฒนาการเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือกาลเวลา

มหกาลโกลาหล เป็นเรื่องราวที่มีความซับซ้อนอย่างมากซึ่งเป็นเรื่องแปลกสำหรับนิยายวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น มันเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของลีเบอร์: มันมีสัตว์ประหลาดมากมายตามแบบของลีเบอร์—มีทั้งเชคสเปียร์และโรงละคร อัตลักษณ์อื่น โรคพิษสุราเรื้อรังและทำร้ายตัวเอง เยอรมันนีและกาลเวลา  เรื่องราวนั้นสนุกสนาน ขบขัน ฉลาด การเล่นเรื่องในสเกลใหญ่บนเวทีเล็กๆ  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มันควรได้รับรางวัลฮูโกสำหรับนวนิยายยอดเยี่ยม ในปีค.ศ. 1958 หรืออาจจะกระทั่งห้าสิบปีต่อมา


[1] Star Dust, สตาร์ดัสท์, กานต์ศิริ โรจนสุวรรณ, สำนักพิมพ์เวิร์ด วอนเดอร์, มีนาคม 2557.
[2] American Gods, อเมริกัน ก็อดส์, วรรธนา วงษ์ฉัตร, สำนักพิมพ์เวิร์ด วอนเดอร์, ตุลาคม 2558.
[3] Coraline, คอรัลไลน์, ลมตะวัน, สำนักพิมพ์เวิร์ด วอนเดอร์, กันยายน 2559.
[4] The Graveyard Book, ผจญภัยในสุสาน, ลมตะวัน, สำนักพิมพ์เพิร์ล พับลิชชิ่ง, พิมพ์ครั้งแรก, กันยายน 2552
[5] The Place, สำนวนแปลในเล่มนี้ขอใช้คำว่า “โรงละครฝัน
[6] The Void, สภาวะอันไร้ซึ่งทุกสิ่งแม้แต่กาลเวลาที่อยู่รอบๆ The Place สำนวนแปลในเล่มนี้ขอใช้คำว่า “สุญญกาล

The All-Human Galaxy – Isaac Asimov

กาแลคซีแห่งมนุษยชาติ

เมื่อปีค.ศ. 1928  ผลงานเขียนของเอ็ดเวิร์ด อี. สมิทธ์ เรื่อง “The Skylark of Space” ได้ปรากฏในนิตยสารอเมซซิ่ง สตอรี่ส์ และได้รับการขานรับว่าเป็นหลักไมล์สำคัญของนิยายวิทยาศาสตร์ในทันใด

ก่อนนั้น เรื่องราวที่พูดถึงการเดินทางในอวกาศมักจะเป็นเพียงแต่ภายในระบบสุริยะเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Trips to the Moon และ to Mars เป็นอาทิ อาจมีการกล่าวถึงผู้มาเยือนจากระบบดาวอื่นบ้าง (เช่นในกรณีของผู้มาเยือนจากซิริอุสในเรื่อง “Micromegas” ของวอลแตร์) แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สมิทธ์ ได้ริเริ่มเรื่องการเดินทางระหว่างดาวที่ดูเสมือนเป็นเรื่องราวปกติวิสัย เขาจัดวางบรรดาวีรบุรุษและเหล่าร้ายไว้ในอวกาศทั่วทั้งกาแลคซี นับเป็นครั้งแรกที่มีการเขียนเรื่องราวเช่นนี้ และบรรดานักอ่านต่างชื่นชอบเป็นอย่างมากและต้องการอ่านเรื่องราวทำนองเดียวกันนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เรื่องแบบ “วิทยาศาสตร์เหนือจริง” กลับกลายเป็นที่นิยมแห่งทศวรรษ สมิทธ์เป็นผู้นำในเรื่องนี้กว่า 20 ปีนับเป็นเวลาครึ่งทางอาชีพของเขา กระทั่ง จอห์น ดับบลิว แคมป์เบลล์ เข้ามาในอีกครึ่งทางหลัง

ทั้งสมิทธ์และแคมป์เบลล์ ต่างก็มีมุมมองว่ากาแลคซี่นั้นมีเผ่าพันธุ์ที่ชาญฉลาดอยู่มาก มากมายหลายเผ่าพันธุ์ ทุกๆ ดาวเคราะห์ต่างล้วนแต่มีเผ่าพันธุ์เหล่านั้น และสมิทธ์เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในการฝันถึงรูปร่างและลักษณะที่แปลกประหลาดสำหรับมนุษย์ต่างดาวของเขา

แม้ว่ากาแลคซี่ที่เต็มไปด้วย “เผ่าพันธุ์ทรงภูมิปัญญาหลากหลาย” นี้ไม่ได้โดดเด่นในนิยายวิทยาศาสตร์เฉกเช่นครั้งหนึ่งมันเคยเป็น กระนั้นคุณก็ยังคงพบเห็นมันได้ทางรายการโทรทัศน์ร่วมสมัย ใน สตาร์เทร็ค และเรื่องราวที่ลอกเลียนทั้งหลาย บางคราวดูเหมือนว่ายานอวกาศไม่อาจจะเดินทางไปในทิศทางใดก็ตามภายในหนึ่งสัปดาห์โดยที่ไม่พบพานเผ่าพันธุ์ทรงปัญญาสักเผ่าพันธุ์หนึ่ง สื่อโสตทัศน์นั่นทำให้เราจินตนาการรูปลักษณ์มนุษย์ต่างดาวได้อย่างจำกัด เพราะอย่างไรก็ตามนักแสดงมักจะต้องอยู่ภายใต้การแต่งหน้าหรือหุ้มด้วยพลาสติก ดังนั้นสิ่งมีชีวิตนอกโลกถ้าไม่ใช่มนุษย์ก็ดูไม่แตกต่างกันนัก

กระทั่ง ฮาล คลีเมนท์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ได้ยกคำถามที่น่าสนใจอย่างยิ่งขึ้นมา ซึ่งผมคิดถึงมันในชื่อว่า “ปฏิทรรศน์ของคลีเมนท์

อ่านเพิ่มเติม The All-Human Galaxy – Isaac Asimov

ส่งข่าวจากหลุมดำ

ส่งข่าว

เบน เอสเตส คิดว่าเขาคงใกล้จะตายแล้ว และมันไม่ได้ทำให้เขารู้สึกดีขึ้นเลย เมื่อคิดถึงว่าเขาไม่ได้อยู่แบบนี้มาหลายปีแล้ว ชีวิตของนักขุดแร่ในอวกาศซึ่งล่องลอยไปตามที่ว่างอันกว้างใหญ่ของแถบดาวเคราะห์น้อยซึ่งยังไม่ได้มีการทำแผนที่ไว้เป็นชีวิตที่ไม่โสภานัก และก็อาจจะไม่ยืนยาวนักด้วย

แน่ละ มีโอกาสที่เขาจะต้นพบสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้เขาร่ำรวยไปตลอดชีวิต และนี่ก็เป็นการค้นพบที่มหัศจรรย์จริงๆ มหัศจรรย์ที่สุดในโลก แต่มันไม่ได้ทำให้เอสเตสรวยหรอก มันกลับทำให้เขาต้องตายเสียด้วยซ้ำ   ฮาร์เวย์ ฟันนาเรลลี่ ร้องครวญคราวเบาๆ จากเตียงของเขา ทำให้เอสเตสหันไป แต่แล้วก็ต้องชะงักเพราะความเจ็บปวด พวกเขาโดนเข้าหนักจริงๆ เขาไม่ได้ถูกกระแทกรุนแรงเท่ากับที่ฟันนาเรลลี่โดนเพราะฟันนาเรลลี่เป็นคนร่างใหญ่ และอยู่ใกล้กับจุดที่ถูกกระแทกมากกว่า

เอสเตสมองดูเพื่อนร่วมงานของเขาอย่างเศร้าสลดแล้วว่า “คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ฮาร์ฟ”

ฟันนาเรลลี่ร้องครวญครางอีกครั้งหนึ่ง “ผมรู้สึกว่าข้อต่อมันหักไปหมด นรกเถอะ นี่มันเกิดอะไรขึ้น เราไปชนเอาอะไรเข้า”

อาการของเอสเตสค่อยดีขึ้น เขาเดินขากระเผลกเล็กน้อย และว่า “อย่าพยายามยืนขึ้นนะ”

“ผมทำได้ถ้าหากคุณจะยื่นมือมาช่วย โอ๊ย! ผมว่าซี่โครงผมหักแน่เลย   จริงๆ ด้วยสิ เกิดอะไรขึ้นรึ เบน”

เอสเตสชี้ไปยังจอภาพหลัก มันไม่ใหญ่โตนัก แต่ก็เป็นขนาดที่ดีที่สุดแล้วที่ยานหาแร่ในอวกาศขนาดสองคนหวังว่าจะมีได้ ฟันนาเรลลี่ขยับเข้าไปหาจอภาพอย่างช้าๆ โดยพิงกับไหล่ของเอสเตส เขามองออกไป
อ่านเพิ่มเติม ส่งข่าวจากหลุมดำ

พลังสมอง – The Feeling of Power

Feeling of Power

เจฮัน ชูมาน เคยชินเสียแล้วกับการต่อรองกับผู้มีอำนาจบนโลกซึ่งมีการจัดตั้งขบวนรบเป็นเวลานานมาแล้ว   เขาเป็นเพียงพลเรือนคนหนึ่ง แต่ก็เป็นผู้ริเริ่มแบบโปรแกรมชนิดยอดเยี่ยมที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันภัยสงคราม ดังนั้นตัวนายพลและประธานสภาเองก็ยังต้องฟังเสียงเขา

ในห้องโถงพิเศษห้องหนึ่งในจำนวนสองห้องของตึกเพนตากอนมีนายพลไวเตอร์และสมาชิกสภาแบรนท์นั่งอยู่ นายพลไวเดอร์ติดนิสัยทำปากเป็นรูปเลขศูนย์อยู่ตลอดเวลา ส่วนแบรนท์สมาชิกสภาผู้มีผิวแก้มเรียบ ตาเป็นประกายกำลังสูบบุหรี่เดเนเบียนอยู่ ทั้งๆ ที่บรรยากาศความรักชาติกำลังพลุ่งพล่าน แต่เขาก็มีสิทธิที่จะทำได้

อ่านเพิ่มเติม พลังสมอง – The Feeling of Power

ช่องว่างระหว่างเวลา

intinf_5706-12จากเรื่อง “BLANK!” ของ Issac Asimov
แปลโดย วิญญาณอิสระ
คัดจาก นิตยสารมิติที่ 4 ปีที่ 7 ฉบับที่ 55 มีนาคม 2528


“สมมติ…ว่าเกิดมีสิ่งหนึ่งที่มีอำนาจและความทระนงพอที่จะท้าทายเทพเจ้าเกิดขึ้นมา หรือที่พวกกรีกเรียกกันวา ‘ฮิวบริส‘ …คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” ออกัส พอยต์เดร็กซ์เตอร์กล่าวในขณะที่กำลังขยี้ตาสีฟ้าของเขา

“ก็ดี…” ดร. เอ็ดวาร์ด แบร์รอนตอบสั้นๆ “ว่าแต่มันเกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังคุยกันอยู่หรือเปล่าล่ะ” แบร์รอนเลิกคิ้ว

“เกี่ยวข้องทุกอย่าง…” พอยต์เดร็กซ์เตอร์ กล่าวต่อ “…ในการสร้างเครื่องพิชิตกาลเวลามันค่อนข้างเสี่ยง เราจะแน่ใจไดอย่างไรว่า ในขณะที่เรากำลังเดินเครื่องนั้นจะไม่เกิดปัญหาประเภทพาราด็อกซ์ของเวลาเกิดขึ้น”
อ่านเพิ่มเติม ช่องว่างระหว่างเวลา

ได้โปรดเถอะครับ…ผมอยากแต่งงาน

คุณพ่อชาร์ล รู้สึกประหลาดใจเป็นที่สุด เมื่อมองเห็นหุ่นยนต์สองตัวที่กำลังเดินตรงมาที่โบสถ์และกดกระดิ่งที่หน้าประตู

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหุ่นยนต์อยู่ทั่วไป รวมทั้งในเมืองเล็กๆ ดังเช่นที่บริดจ์ตัน นี่ก็ตามที  เมื่อผู้ดูแลโบสถ์พาทั้งสองมาพบเขาก็ยังไม่คลายจากอาการตกตะลึงจากการที่เห็นหุ่นยนต์เข้ามายังที่สถิตของพระเจ้า

“คุณพ่อค่ะ, นี่” หญิงสาวผายมือไปทางหุ่นยนต์ทั้งสอง “คือ L 53 กับ LW 456 พวกเขาต้องการที่จะคุยกับคุณพ่อคะ”

“โอ…ได้สิได้ เชิญเข้ามาใน… เข้ามาแล้วนั่งลง” คุณพ่อชาร์ลไม่เคยพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับพวกยักษ์สูงแปดฟุตที่ทำงานชั้นต่ำแทนมนุษย์มาก่อน มันช่างน่าขนพองสยองเกล้าเสียจริง “พวกเจ้าต้องนั่งรึเปล่า”
อ่านเพิ่มเติม ได้โปรดเถอะครับ…ผมอยากแต่งงาน

The Dispossessed ผู้ครองฟ้า

โดย เออร์ซูลา เค. เลอ กวิน Ursula K. Le Guin
ที่มา: http://bestsciencefictionbooks.com/top-25-best-science-fiction-books.php
ลำดับที่ 4 จาก 25 นิยายวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด ของเว็บไซต์ http://bestsciencefictionbooks.com รางวัลชนะเลิศ: NEBULA (1974), HUGO (1975), Locus SF (1975) การเสนอชื่อชิงรางวัล: CAMPBELL (1975)

ผู้ครองฟ้าThe Dispossessed หรือในชื่อฉบับแปลภาษาไทยว่า “ผู้ครองฟ้า” ได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวทางใหม่ในการเขียนวรรณกรรมโลกยูโทเปีย แต่เมื่อเราอ่านบทตามที่ปรากฏในหนังสือ: “An Ambiguous Utopia”  ซึ่งวิเคราะห์ไว้ว่า เลอ กวิน ไม่ได้นำเสนออย่างตรงไปตรงมาถึงสังคมต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในนวนิยายของเธอ  แต่กลับมักจะบรรยายไว้ด้วยอย่างคลุมเครือ และละเอียดอ่อน ด้วยสำนวนที่ละมุนละไม ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่านั่นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมประการหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นสุดยอดนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง

บนดาวเคราะห์เออร์ราส มีระบบสังคมสะท้อนให้เห็นถึงในช่วงเวลาที่ เลอ กวิน กำลังเขียนนวนิยาย ในเรื่องนี้มีรัฐหนึ่งชื่อว่า เอ-ไอโอ (A-Io) ซึ่งทำให้เราต้องหวนระลึกถึงสังคมทุนนิยมของสหรัฐฯ และอีกรัฐหนึ่งนามว่า ธู (Thu) ซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่เป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต  ในทางตรงกันข้ามกันนั้น บนดวงจันทร์อนาเรส กลับมีสังคมอนาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากคำสอนของโอโด   แต่ทว่าเราไม่ควรมองว่า อนาเรส เป็นสังคมแบบยูโทเปีย สังคมนี้ยังคงมีข้อจำกัดอีกหลากหลายประการซึ่ง เชอร์เวค ตัวเอกของเรื่องค้นพบ

เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามปฏิวัติสร้างทฤษฎีเวลาแบบใหม่ เขาเผชิญข้อจำกัดว่างานของเขาจะก้าวหน้าไปได้อย่างไรบนดาวอนาเรส   ดังนั้นเขาจึงเดินทางไปเออร์ราส เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิทยาศาสตร์ที่นั่น แต่ก็พลันพบเพียงว่าเขาเผชิญข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปเพียงเท่านั้น

ในแต่ละบท เราได้ติดตามเรื่องราวของ เชอร์เวค ทั้งบนดาวอนาเรส และ เออร์ราส เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หนึ่งมักสะท้อนอยู่ในเหตุการณ์ที่คล้าย ๆ กัน เพื่อให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของสังคมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความบริสุทธิ์ของสังคมอนาธิปไตยถูกนำเสนอในเชิงบวกมาก แต่เราก็ยังคงเห็นข้อดีหลายประการสังคมทุนนิยม และคอมมิวนิสต์ของเออร์ราส

ทำไมถึงได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 25
เป็นงานที่เขียนขึ้นมาได้อย่างสวยงาม และเต็มไปด้วยข้อคิดต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เราต้องย้อนมอง และประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการเมืองที่ต่างออกไป   ในนวนิยายเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญของนิยายวิทยาศาสตร์ในฐานะวรรณกรรมทางด้านความคิดซึ่งมักจะไม่ค่อยได้รับรางวัล Hugo, Nebula and Locus Awards มากนัก

ทางเลือกอื่น
สำหรับเรื่องราวในแนวนี้ ถ้าหากคุณต้องการอ่านเรื่องอื่นอีก เราก็ยังคงเสนอผลงานอื่น ๆ ของ เลอ กวิน เพื่อเป็นทางเลือกในการอ่าน  เออร์ซูลา เลอ กวิน สมควรได้รับคำยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในนิยายวิทยาศาสตร์ แทบจะเป็นไปได้ยากที่จะเลือกเรื่องที่ดีที่สุดในหนังสือของเธอทั้ง The Dispossessed และ The Left Hand of Darkness  ต่างก็เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัล Hugo and Nebula Awards และนิตยสาร Locus ได้จัดเป็นอันดับที่สองในรายการ All-Time Best SF Novels The Left Hand of Darkness  ก็เป็นส่วนหนึ่งของ วัฏจักรไฮนิช (Hainish Cycle) เช่นเดียวกับ The Dispossessed และยังมีความรุนแรงทางการเมืองที่รุนแรงมาก แม้ว่าในกรณีนี้จะเกี่ยวข้องกับการเมืองในประเด็นทางด้านเพศ ตั้งอยู่บนดาวเคราะห์ที่เรียกว่าฤดูหนาว อธิบายถึงสังคมของคนที่มีสภาวะเพศเป็นกลาง และจะใช้ลักษณะทางเพศเพียงแค่เดือนละครั้งในเวลาที่รู้จักกันว่า เคมเมอร์


เออร์ซูล่า เค. เลอ กวิน
นักเขียนนวนิยาย
Ursula K. Le Quin